Posts

Showing posts from January, 2018

บทที่ 7 การจัดการอุปกรณ์

Image
บทที่ 7 การจัดการอุปกรณ์ โดย นาย วีรินทร์ เรือนก้อน  รหัสนักศึกษา 6031280063 การจัดการอุปกรณ์อินพุตเอาต์พุตและสื่อจัดเก็บข้อมูล      การทำงานของคอมพิวเตอร์ไม่ใช่เป็นการทำงานเฉพาะส่วน  แต่จะต้องมีการติดต่อกับโลกภัยนอก   ซึ่งก็คืออุปกรณ์รอบข้าง(peripheral) ต่างๆ เช่น  หน่วยความจำ และอุปกรณ์ที่ต่อพวงกับคอมพิวเตอร์ที่เป็นได้ทั้งอินพุตและเอาต์พุต (Input/Output)เพื่อให้  การติดต่อกับอุปกรณ์เหล่านี้สามารถดำเนินการร่วมกันได้อย่างเหมาะสม      โดยทั่วไปประเภทของอุปกรณ์สามารถแบ่งได้  2 ประเภทด้วยกัน  คือ      1.อุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต(Input Output Device)      2.สื่อจัดเก็บข้อมูล (Storage Device) อุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต      ๐ อุปกรณ์อินพุต (Input Device) คืออุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับข้อมูลต่างๆจากภายนอกได้  เช่น  คีย์บอร์ด,เมาส์,สแกนเนอร์,ไมโครโฟน      ๐ อุปกรณ์เอาต์พุต (Output Device)  คืออุปกรณ์ที่คอมพิวเตอร์ส่งผลและแสดงผลข้อม...

บทที่ 6 การจัดการไฟล์

Image
บทที่ 6  การจัดการไฟล์ โดย  นาย วีริทร์ เรือนก้อน  รหัสนักศึกษา 6031280063           แอปพลิเคชันของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดจำเป็นต้องมีการเก็บและนำข้อมูลไปใช้งาน ในขณะโปรเซส ข้อมูลจะเก็บอยู่ในพื้นที่จำกัดในแอ็ดเดรส เฉพาะของหน่วยความจำเพื่อการใช้งานที่รวดเร็ว ข้อจำกัดอีกประการหนึ่งคือหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลเหล่านี้จำเป็นต้องมีไฟหล่อเลี้ยง นั่นหมายความว่า ถ้าคุณดับเครื่องข้อมูลเหล่านี้จะสูญหายไป ดังนั้นในการเก็บข้อมูลเหล่านี้ จำเป็นต้องมีสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็นแผ่นดิสเก็ต ฮาร์ดดิสก์ หรืออื่นๆก็ตาม (ระบบปฏิบัติการจะจัดการกับสื่อเก็บข้อมูลอย่างไรนั้น คุณสามารถศึกษาได้จากบทที่ 8 ) ในการจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ลงในสื่อที่กล่าวถึง เพื่อนำไปใช้งานต่อไปนั้นจำเป็นต้องกำหนดชื่อเพื่อแทนกลุ่มข้อมูลที่คุณจัดเก็บ ชื่อที่ว่านี้ก็คือชื่อไฟล์นั่นเอง นอกจากนี้ถ้าคุณจัดเก็บข้อมูลไม่เป็นระเบียบก็จะทำให้การใช้งานทำได้ดีขึ้น การจัดไฟล์เป็นหมวดหมู่ก็คือการจัดเก็บในไดเร็กทอรี ซึ่งทั้งไฟล์และไดเร็กทอรี่ นี่เองที่จะกล่าวถึงในบทนี้ นอกจากนี้ผู้เขียนยังแ...

บทที่ 5 หน่วยความจำเสมือน

Image
บทที่ 5 หน่วยความจำเสมือน โดย นาย วีรินทร์ เรือนก้อน  รหัสนักศึกษา 6031280063 หน่วยความจำเสมือน           พัฒนาการของการจัดการหน่วยความจำได้มีการพัฒนาเทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองการทำงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่นการรันโปรแกรมหลาย ๆ โปรแกรมที่มีความ  รวดเร็ว และสามารถรันงานขนาดใหญ่กว่าหน่วยความจำที่มีอยู่จำกัดได้อย่างไร           ในส่วนของหน่วยความจำเสมือนนี้ มีแนวคิดที่ว่า จะไม่สนใจว่าระบบคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่นั้นมีหน่วยความจำขนาดเท่าใด แต่อย่างก็ตามจะต้องสามารถรันงานที่มีขนาดใหญ่โตหรืองานที่ต้องใช้หน่วยความจำมหาศาลได้ ซึ่งระบบปฎิบัติการจะต้องจัดสรรหน่วยความจำเพื่อ   บริการเหล่านี้ได้ และเป็นที่ทราบกันดีว่า หน่วยความจำนั้นมีราคาแพง การขยายหน่วยความจำให้ขนาดเพิ่มขึ้นนั้นคือไม่ใช้ทางออกที่ดีที่สุด กล่าวคือถึงแม้ว่าจะมีการเพิ่มขยายหน่วยความจำมากเท่าใด ก็มิอาจจะเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้งานอยู่ดีเนื่องจากว่าในปัจจุบันโปรแกรมต่าง ๆ หรือข้อมูลต่าง ๆ นั้นเป็นลักษณะของภาพ, ฐานข้อมูล , มัลติมีเดีย ท...

บทที่ 4 การจัดการหน่วยความจำ

Image
บทที่ 4 การจัดการหน่วยความจำ โดย นายวีรินทร์ เรือนก้อน  รหัสนักศึกษา 6031280063 ลำดับชั้นของหน่วยความ           หน่วยความจำในระบบคอมพิวเตอร์  ถือเป็นทรัพยากร (Resource)  หนึ่งที่สำคัญซึ่งเมื่อกล่าวถึงหน่วยความจำในระบบคอมพิวเตอร์มักจะหมายถึงหน่วยความจำหลัก (MainMeory) หรือ หน่วยความจำแรมในไมโครคอมพิวเตอร์นั่นเอง           ข้อบัญญัติข้อหนึ่งของ ดร. จอห์ ฟอน นอยมานน์ กล่าวว่าข้อมูลและชุดคำสั่ง (Data and Instruction) ต้องอยู่ในหน่วยความจำหลัก นั้นหมายถึงว่าโปรแกรมและข้อมูลต้องอยู่ในหน่วยความจำ ซึ่งหน่วยความจำนี้ซีพียูสารถเข้าถึง (Access) ได้โดยตรง และมีความเร็วสูงพอที่จะทำงานเคียงคู่กับความเร็วของซีพียูได้ ถึงแม้จะเทียบกับความเร็วของซีพียูไม่ได้ แต่ก็จะไม่เกิดความเหลื่อมล้ำกันมากนัก แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้ก็มีหน่วยความจำชนิดหนึ่งที่เรียกว่า หน่วยความจำแคช (Cache Memory) ซึ่งเป็นหน่วยความจำขนาดเล็กแต่มีความรวดเร็ว โดยนำมาใช้งานร่วมกับหน่วยความจำหลัก จึงมีผลให้การประมวลผลรวดเร็วยิ่งขึ้น ลำดับชั้นของหน่...